ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น เช่น การนำเอาแชทGPTมาช่วยในงานด้านธุรกิจ การใช้ AI มาประยุกต์ในการอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้คนบนโลกจึงทำให้เกิดอาชีพมากมายขึ้นมาตามเทรน ยกตัวอย่าง 7 อาชีพมาแรงในยุคดิจิทัล ดังนี้
1. Network Security


อาชีพในฝันรายได้สูงหลักแสน แถมยังมีชื่อเท่ๆ ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า "วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทำหน้าที่ในการดูแลและป้องกันความปลอดภัยของระบบ เว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ทางไซเบอร์ ซึ่งรวมไปถึงการวิเคราะห์เพื่อค้นหาช่องโหว่ของระบบ ป้องกันผู้ไม่หวังดีโจมตีหรือเจาะเข้าระบบเพื่อล้วงข้อมูลไปได้ง่ายๆ


  2. Data Analyst


อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล ถือเป็นอาชีพมาแรงและเป็นที่ต้องการของแทบทุกองค์กร เพราะนักวิเคราะห์จะต้องนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลเพื่อนำไปต่อยอดและสื่อสารไปยังฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มองหาจุดอ่อนและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น สำหรับใครที่สนใจอยากทำอาชีพนี้ต้องมีความเข้าใจเรื่องสถิติ การวิเคราะห์เชิงสำรวจ และแนะนำให้เรียนรู้เรื่องโค้ดดิ้ง (Coding) ควบคู่ไปด้วย


  3. UX/UI Designer


เรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจและตอบโจทย์ยุคใหม่ได้ดีมากๆ สำหรับหน้าที่ของ UX (User Experience) และ UI (User Interface) จะต้องออกแบบการใช้งานของผลิตภัณฑ์ดิจิทัลต่างๆ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ฯลฯ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ให้มากที่สุด รวมถึงมีมุมมองที่เข้าใจปัญหาจากหลากหลายมุม รวมถึงมีความรู้หลักการออกแบบต่างๆ ซึ่งตำแหน่งนี้มักจะทำงานควบคู่กับนักออกแบบเว็บไซต์ ทีมเขียนโค้ด และนักวิเคราะห์ข้อมูล


   4. Digital Marketer


อาชีพนักการตลาดที่เรารู้จักกันดียังต้องปรับตัวตามกระแส เพิ่มความเป็นดิจิทัลลงไป เสริมทักษะให้แข็งแกร่งทั้งสายงานการตลาดและเทคโนโลยียุคใหม่ จะทำอาชีพนี้ได้ต้องมีความเชี่ยวชาญหลากหลายทั้ง Social Media, Search Engine, E-mail Marketing การเลือกใช้สื่อออนไลน์ที่เหมาะสม การวางเเผนการตลาดออนไลน์ แม้ขอบเขตของงานจะกว้าง แต่ค่าตอบแทนก็คุ้มค่าน่าพึงพอใจเช่นเดียวกัน


  5. Content Creator


ต้องบอกเลยว่าอาชีพนักสร้างคอนเทนต์ หรือว่า Content Creator นั้นเป็นอาชีพที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน เพราะนอกจากจะมีบทบาทในการช่วยผลักดันธุรกิจมากขึ้นแล้ว ยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ดี และสามารถทำงานได้แบบอิสระอีกด้วย ซึ่งการทำงานของอาชีพนี้ มีหน้าที่ผลิตเนื้อหาบนสื่อ ทั้งสื่อออฟไลน์ และออนไลน์ ต้องคอยสร้างสรรค์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยมีจุดประสงค์ในการสื่อสารเนื้อหาเหล่านั้นกับกลุ่มผู้ติดตามลูกค้า (Target Audience) บนช่องทางต่าง ๆ นั่นเอง


6. Software Developer


นักพัฒนาโปรแกรม หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า นักเขียนโปรแกรม อาชีพที่น่าสนใจแซงหน้าทุกสายอาชีพ องค์กรต่าง ๆ ต้องการพัฒนาศักยภาพทางด้านไอทีของตนเองให้ก้าวหน้า จึงทำให้อาชีพนักพัฒนาโปรแกรมติดอยู่ในอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการสูง เพราะไม่ใช่เพียงแค่การทำงานโดยใช้คำสั่งโปรแกรมต่าง ๆ แต่เป็นอาชีพที่เริ่มตั้งแต่การเขียน coding เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์มสามารถตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรและลูกค้า นักพัฒนาโปรแกรมจึงมีฐานรายได้ที่ค่อนข้างสูง


  7. Software Tester


อาชีพนี้จะทำการทดสอบคุณภาพของ software และค้นหาปัญหา ข้อผิดพลาด จุดบกพร่องหรือ bugs ให้เจอก่อนที่จะ launch โปรแกรมออกไปให้ใช้งานจริง เพื่อที่จะได้สามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้ทัน และทำให้โปรแกรมที่ user จะได้ใช้งานมีความสมบูรณ์และมีปัญหาน้อยที่สุด เป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการสูงเหมือนกัน